ชาย. หลวงปู่ทวด2497วัดช้างไห้. หลวงปู่ทวดพุฒซ้อน. ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ทิม ธมฺมธโร. พระครูวิสัยโสภณ หรือพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร แห่งวัดช้างให้ อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี เกิดวันพุธ เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ํา ปีชวด จ. ศ. ๑๒๗๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ. ศ. ๒๔๕๕ ณ บ้านนาประดู่ ต. นาประดู่ อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี ในวันที่พระอาจารย์ทิมมรณภาพ ซึ่งตรงกับวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ พระอํานวย นนทิโย ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน และนายเพิ่ม พรหมประดู่ พี่ชายของท่านต้องคอยปฏิบัติเลือดออกปากอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเวลา ๐. ๓๗ น. พระอาจารย์ทิมหมดลม อัสสาสะปัสสาสะพอดี ที่โรงพยาบาลกลาง กทม. ในหนังสือประวัติพระราชทานเพลิงศพพระครูวิสัยโสภณ ทิม ธมฺมธโร ที่เรียบเรียงโดยพระโศภนธรรมคุณ วัดนาประดู่ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ซึ่งนํามาแจกในวันงานพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ. ศ. ๒๕๑๘ มีการบันทึกข้อมูลการจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดที่น่าสนใจ ดังนี้. หน้าที่ ๑๒-๑๔ ได้เขียนถึงการสร้างพระหลวงปู่ทวดไว้ว่า ท่านพระครูได้ปรึกษาหารือกับท่านนอง ธมฺมภูโต ตืด พระธรรมกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดทรายขาวองค์ปัจจุบัน ขณะนั้นยังมีชีวิตอยู่ ต่างก็เห็นชอบด้วย และในเวลาเดียวกัน นายอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีตลาดปัตตานีซึ่งสนใจเรื่องนี้อยู่แล้ว ขอระรับภารให้การอุปถัมภ์ในการสร้างพระเครื่องนี้ทั้งหมดเกี่ยวกับทุนดําเนินงาน พระครูธรรมกิจโกศลพร้อมด้วยพระเณรวัดนาดู วัดทรายขาว และวัดช้างให้ รับภาระในการจัดหาว่านชนิดต่างๆ เท่าที่ต้องการมาให้. วันที่ ๑๙ มีนาคม พ. ศ. ๒๔๙๗ ขึ้น ๑๕ ค่ําเดือน ๔ ปีมะเมีย จ. ศ. ๑๓๑๖ เวลาเที่ยงตรงเป็นเวลาท่านพระครูกดพระเครื่องเข้าเบ้าพิมพ์และลงมือทําพระเครื่องไปโดยลําดับ พระครูธรรมกิจโกศล นอง ธมฺมภูโต เป็นผู้หนึ่งที่ประจําโรงพิธีร่วมกับท่านอาจารย์ทิม คือ พระครูวิสัยโสภณตลอดไป. นอกจากนี้พระเณรที่วัดต่างก็ช่วยกันกดพิมพ์พระเครื่องตามที่ท่านพระครูสั่งให้ทําจนถึงวันที่ ๑๕ เมษายน พ. ศ. ๒๔๙๗ ได้พระเครื่อง ๖๔, ๐๐๐ องค์ แต่จะพิมพ์ให้ได้ ๘๔, ๐๐๐ องค์ แต่เวลาไม่พอด้วยว่าจะทําการปลุกเสกในวันที่ ๑๘ เมษายน พ. ศ. ๒๔๙๗ วันอาทิตย์เพ็ญเดือน ๕ เวลาเที่ยง. เมื่อได้ฤกษ์ตามที่ท่านกําหนดไว้ท่านพระครูเข้านั่งประจําที่ประกอบพิธีปลุกเสกองค์เดียวจนถึงเวลา ๑๖. ๐๐ น. ของวันเดียวกันนั้น ต่อจากนั้นท่านก็มอบพระเครื่องให้แก่ผู้ที่เคารพนับถือคนละหนึ่งองค์ เป็นที่น่าสังเกตว่า การประกอบพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวด ท่านพระครูประกอบพิธีปลุกเสกเพียงองค์เดียวเท่านั้นเป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่ท่านสร้างพระเครื่อง พระเครื่องหลวงปู่ทวดมีชื่อเสียงดังไปทั่วประเทศ เข้าใจว่าทั้งนี้เนื่องจากท่านผู้ปลุกเสกมีพลังจิตสูงมีเมตตาสูง และผู้สร้างมิได้มีจิตคิดหาลาภผลทางวัตถุแต่อย่างใด ตั้งใจจะเป็นเครื่องสักการบูชาของผู้ที่เคารพนับถือ. ท่านอาจารย์ทิม หรือท่านพระครูวิสัยโสภณ ปลุกหลวงพ่อทวดให้ตื่นขึ้นในระยะเวลา ๒๐ ปีมานี้ ทําให้ผู้คนรู้จักวัดช้างให้ รู้จักพระเครื่องหลวงพ่อทวด จ. ปัตตานี ซึ่งจะมีเซียนพระสายหลวงปู่ทวดสักกี่คนที่เคยได้อ่าน หนังสือประวัติพระราชทานเพลิงศพพระครูวิสัยโสภณ ทิม ธมฺมธโร ที่เรียบเรียงโดย พระโศภนธรรมคุณ วัดนาประดู่ ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะที่ ดูพระเป็นแต่ไม่รู้ประวัติศาสตร์การสร้างที่ชัดเจน. ในกรณีการจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดเนื้อทองคํามีข้อถกเถียงในวงการพระเครื่องมาตลอด แต่ข้อถกเถียงมาสิ้นสุดที่คํากล่าวของ หลวงอํานวย หรือ พระอํานวย นนทิโย พระลูกศิษย์ใกล้ชิดพระครูวิสัยโสภณ หรือพระอาจารย์ทิม ธัมมโร แห่งวัดช้างให้ อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี ซึ่งเคยติดตามอาจารย์ทิมตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งปัจจุบันได้ลาสิกขาเป็นฆราวาส ที่ว่า. มีการสร้างพระหลวงปู่ทวดทองคําเอาไว้จํานวนหนึ่งจริง ตนเห็นกับตา พระเครื่องทองคําส่วนหนึ่งที่จัดสร้างขึ้นก็เพื่อมอบให้คหบดี ผู้มีชื่อเสียง ข้าราชการระดับสูงและเศรษฐีที่บริจาคปัจจัยจํานวนมาก เพื่อตอบแทนน้ําใจที่มีส่วนช่วยบูรณะวัดช้างให้เป็นกรณีพิเศษ จะเรียกว่าพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่เป็นทองคํานั้นมอบให้เฉพาะเจาะจงแก่บุคคลสําคัญๆ ก็ว่าได้. พระอาจารย์ทิม ธัมมโร ได้สร้างสุดยอดแห่งรูปเคารพพระเครื่องหลวงปู่ทวดจากภาพนิมิตร ตั้งแต่ พ. ศ. ๒๔๙๗ อันลือลั่น ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้สาธุชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศยังไม่ลดละความพยายามพากันเสาะแสวงหาเพื่อบูชาติดตัวพร้อมอาราธนาบทพุทธคุณ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภควา เพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันตรายและเจริญด้วยสิริสวัสดิ์ทั้งหลายทั้งปวง. เมื่อเอ่ย ถึงประวัติในการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดว่านรุ่นแรก พ. ศ. 2497 จ. ปัตตานี. มีหลายๆท่านอาจจะได้รับทราบข้อมูลมามากมาย จากสื่อนิตยสาร รวมเล่ม จากประวัติที่ได้ฟังเขาเล่าขานกันมา เรื่องราวการจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด ว่านรุ่นแรกนั้น ยังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ทราบความเป็นจริงว่าพระเครื่องหลวงปู่ทวดว่าน 2497 นั้น ว่านที่นํามาเป็นส่วนผสมนั้น มีทั้งหมด 200 กว่าชนิด คําว่า 108 มิใช่ว่าน 108 ชนิด แต่เป็นเรื่องพุทธคุณที่มีถึง 108 คําว่า 108 ก็คือ ได้ทุกสิ่งอะไรก็ได้ศักดิ์สิทธิ์ คําว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นคําพูดที่ครอบ จักรวาล นั่นเองคนเขามักจะนิยมเอามาพูดกัน. พูด ถึงว่านต่างๆที่พระอาจารย์ทิมได้บอกกล่าวให้ ชาวบ้านแถบป่าไร่ ข้างวัดช้างไห้เวลาไปกรีดยาง ขากลับให้นําว่านมาทิ้งไว้ตรงบริเวณลานวัดเพื่อทําการตากแห้ง. คําบอกเล่าจากปาก อ. แย้ม พุฒยอด. อาจารย์แย้ม พุฒยอด. หรือที่ท่านอาจารย์ทิม จะเรียกว่า เจ้าแย้ม นั้นเป็นศิษย์เอก ของพระอาจารย์ทิม พื้นเพเดิม อ. แย้ม อยู่เยื้องๆกับวัดช้างไห้ มีบ้านและสวนยางอยู่ในละแวกนั้น ซึ่งจัดได้ว่า อ. แย้ม เป็นผู้มีฐานะคนหนึ่ง อีกทั้งยังได้รับการถ่ายทอด วิชาอาคม จากพระอาจารย์ทิม ในเรื่องของการ สักยันต์นั่นเอง. ท่านอาจารย์แย้ม ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านอาจารย์ทิมท่านเป็นพระอาจารย์ที่น่ารักมาก มีจิต เมตตาต่อชาวบ้าน ไม่ว่าพระอาจารย์ทิม จะขอความช่วยเหลืออะไร ชาวบ้านจะยื่นมือเข้ามาช่วยทันทีเหมือนอย่างกับการที่พระอาจ